วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

แหล่งการเรียนรู้


สวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์ ก่อนอื่นผมต้องบอกก่อนว่าปีใหม่ที่ผ่าน ผมไม่ได้กลับบ้านครับเพราะผมต้องทำงาน ดังนั่นสถานที่ผมไปศึกษามา ผมได้ไปศึกมาก่อนปีใหม่สักระยะหนึ่งแล้วครับ สถานที่นั่นก็คือ


หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร


ประวัติความเป็นมา


ความคิดเรื่องการมีหอศิลป์สำหรับประชาชน ในวงกว้าง เกิดขึ้นมาตลอดระยะเวลา 15 ปี ที่ผ่านมา เนื่องจากในอดีตนโยบายภาครัฐ ยังไม่มีความชัดเจนในการสนับสนุนงาน ด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างจริงจัง และเห็นถึง ความสำคัญของการพัฒนาสติปัญญา อารมณ์ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็น ส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนา ประเทศ สิ่งนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของแนว ร่วมศิลปินไทยในการสร้างหอศิลปะร่วม สมัย เพื่อให้มีหอศิลป์ที่ทัดเทียมกับสากล และเป็นเกียรติศักดิ์ศรีกับประเทศ รวมทั้ง เพื่อให้สังคมมีแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลป วัฒนธรรม เป็นทางเลือกเพื่อจรรโลงยก ระดับจิตใจควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้า ทางวัตถุ หอศิลป์สำหรับประชาชนควรเป็น การลงทุนจากภาครัฐ โดยไม่แสวงหาผล กำไรทางธุรกิจ เป็นการลงทุนเพื่อ สนับสนุนการพัฒนาเช่นเดียวกับการสร้าง สาธารณูปโภค การสร้างหอศิลป์เปรียบเป็น สาธารณูปโภคทางสมอง หรือ software ทางปัญญาที่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการ สร้าง hardware
โครงการก่อการสร้างหอศิลป์ได้เริ่มขึ้นเมื่อ ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ได้มีมติร่วมกับคณะกรรมการโครงการ เฉลิมพระเกียรติฯ ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2538 ให้กรุงเทพมหานครจัดสร้าง หอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานคร ณ สี่แยกปทุมวัน โดยมีรูปแบบที่ผ่านการ คิดและการตัดสินใจร่วมกัน อย่างไรก็ตาม โครงการต้องมาสดุดหยุดลงเมื่อนายสมัคร สุนทรเวช เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครคนต่อมา ในปี 2544 และล้มเลิกโครงการหอศิลป์ตามรูปแบบ เดิมให้มีลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์มากขึ้น พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงจากเดิมกรุงเทพ มหานครเป็นผู้ลงทุนมาเป็นให้เอกชนสร้าง องค์กรด้านศิลปะ ศิลปิน อาจารย์ นักศึกษา และสื่อมวลชน ได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรม คัดค้านการระงับโครงการเดิม มีการจัด กิจกรรมเคลื่อนไหวและเรียกร้องให้ผู้บริหาร กรุงเทพมหานครในสมัยนั้นทบทวนโครงการ รวมทั้งการจัดกิจกรรมวาดภาพเขียนยาว 4 กิโลเมตร ในหัวข้อ ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า การดำเนินการทาง กฎหมายต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระงับ โครงการฯ และการจัด "ART VOTE" โหวตเพื่อหอศิลป์
กระทั่งนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี 2547 เครือข่ายศิลปินและประชาชนจึงได้นำโครงการหอศิลป์เข้าหารือ และ ได้รับการพิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการจัดสร้าง หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครตามโครงการเดิม  นับเป็นเวลา 10 ปี หอศิลปฯ ต้องใช้เวลาเดินทาง ผ่านการผลักดันและรณรงค์อย่าง เข้มข้น จนในที่สุด อาคารหอศิลปฯ ก็เกิดขึ้น ณ สี่แยกปทุมวัน อันเป็นผลสืบเนื่อง มาจากความร่วมมือครั้งสำคัญในการส่งเสริมศิลปะระหว่างกรุงเทพมหานครและ เครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร การเดินทาง สู่การ รับรู้ศิลปะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว อาคารงดงามแห่งนี้เป็นเสมือนจุดนัดพบทาง ปัญญา ศิลปะเป็นเรื่องเข้าถึงง่ายและชื่นชมง่าย ทุกคนสามารถมารวมตัวกันเพื่อร่วม กิจกรรมด้านศิลปะอันหลากหลาย นิทรรศการหมุนเวียน ดนตรี กวี ละคร ภาพยนตร์ เสวนา และวรรณกรรม เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ในการเรียนรู้ นำไปสู่ความเจริญ ทางปัญญา สุขภาพทางใจ และการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้านอื่นๆ ต่อไป


 แผนที่และการเดินทาง


วัตถุประสงค์

1. เป็นสถานที่ให้การศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมแก่ชุมชน และประชาชน
2. เป็นพื้นที่สำหรับการเชื่อมโยงทุนเดิมจากมรดกทางวัฒนธรรมเข้ากับศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ให้เกิดองค์ความรู้หลากหลาย
3. เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่าย และระดมทรัพยากรในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม และเป็นองค์กรส่งเสริม สร้างโอกาส ประสานการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างและพัฒนาระบบการบริหารจัดการหอศิลปฯ สู่ระดับมาตรฐานสากล
4. เป็นเวทีในการนำเสนอและบริหารจัดการ การแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างประเทศ
5. เป็นส่วนเสริมสร้างศักดิ์ศรีแก่กรุงเทพมหานคร สู่ความเป็นมหานครแห่งศิลปวัฒนธรรมระดับโลก


ภายในหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 9 ชั้น คือ
 ชั้น L เป็นแหล่งรวบรวมหนังสือและสื่อความรู้ด้านศิลปะพร้อมบริการอินเตอร์เน็ตและมุมเด็กเล็ก
 ชั้น 1 -4 เป็นส่วนที่เรียกว่า ART-RIUM@BACC
โดยที่ชั้น 1 เป็นส่วนของการออกร้านจากสถาบันการศึกษาทางศิลปะและดนตรีชั้นนำ

           

ชั้น 2 เพลิดเพลินกับร้านหนังสือที่คัดสรรพิเศษและแตกต่าง รวมทั้งหนังสือหายาก หนังสือทำมือ และภาพยนตร์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันโดยหอภาพยนตร์แห่งชาติและมูลนิธิ
      ชั้น 3 พบกับงานหัตถกรรมจากโครงการในพระราชดำริ
ชั้น 4 มีการจัดแสดงภาพถ่ายของสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศ และทัศนศิลป์ร่วมสมัยจากกลุ่มแกลลอรี่ชั้นนำ
ชั้น 5 สำหรับการประชุม ฉายภาพยนตร์ การแสดงดนตรี ละครเวที อบรม เสวนา และการแสดงต่างๆ
 ชั้น 7-9 ที่จัดแสดงงานทัศนศิลป์

 การบูรณาการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครกับพลศึกษา


การเรียนรู้ในด้านเจตคติ
    มีความสนุกเพลิดเพลินไม่จำเป็นจะต้องไปอยู่ที่ศูนย์การค้ากับแหล่งบันเทิง แต่การมาที่หอศิลปวัฒนธรรม ก็จะมีความสนุกเพลิดเพลินได้เหมือนกัน   หอศิลปวัฒนธรรมสามารถพัฒนาเรื่องของจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ความรู้ การมอง การฟัง การสัมผัส การสังเกต เปรียบเทียบหลายๆ อย่างที่จุดประกายความคิด ให้เรามีความคิดพัฒนาไปข้างหน้าการที่เราได้มีโอกาสไปเที่ยวที่ในหอศิลปะ ก็จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาทางด้านร่างกายเราหลายๆด้าน เช่น สัมผัสสิ่งที่มีคุณค่า          ทางสุนทรีย์ สิ่งแปลกใหม่ได้รับการฝึกทักษะในการมอง การสังเกตและได้รับความรู้ทางวัฒนธรรม

การเรียนรู้ในด้านความรู้
      กระบวนการแสวงหาความรู้   ผมแสวงหาความรู้ด้วยตนเองเพราะหอศิลปวัฒนธรรมมองจากภายนอกเป็นสถานที่ใหญ่มาก ผมจึงเข้าไปชม ฟัง สังเกตและเรียนเกี่ยวกับศิลปวัฒธรรมทางด้านต่างๆเป็นการเพิ่มความรู้ให้กับตนเอง  ในหอศิลปมีรูปภาพมากมายแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทุกยุคทุกสมัย ผมคิดว่าก็คงเหมือนกับพลศึกษา กว่าจะมีมาถึงปัจจุบัน ก็คงมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทักษะและเทคนิควิธีการแบบใหม่ๆ เพื่อการเรียนรู้ที่ดีกว่าเดิมและมีประสิทธิมากยิ่งขึ้น
    กระบวนการคิด  เมื่อผมได้เข้าไปสัมผัสกับหอศิลปวัฒนธรรม  ทำให้ผมคิดถึงศิลปะภาพวาดต่างๆ เพราะแต่ละภาพมีศิลปะอยู่ในตัว แต่ละภาพมีความละเอียด   มีขนาดใหญ่และเล็กหลายๆภาพ  แต่ละภาพต้องใช้เวลา ใช้ความอดทน ใช้ความละเอียดในการวาดภาพ ฉะนั้นผู้วาดต้องมีสมาธิ ตั้งใจ จดจ่ออยู่กับการวาดภาพ ต้องมีความคิดสร้างสรรค์จึงจะวาดภาพออกมาได้สวยขนาดนี้  เช่นเดียวกับการเรียนการสอนพลศึกษา เราต้องใช้ความอดทนในการเรียน เพราะเมื่อเรียน แน่นอนเราจะต้องเหนื่อย  แต่ถ้าเราตั้งใจที่จะฝึกซ้อม เรียนรู้และสนุกกับมัน  พลศึกษาก็จะกลายเป็นเรื่องสนุกสนาน เป็นการรักษาสุขภาพและเพิ่มบุคลิกภาพ


การเดินทาง

รถประจำทางที่ผ่าน
สาย 15, 16, 21, 25, 29, 34, 36, 40, 47, 48, 50, 54, 73, 73ก, 79, 93, 141, 159, 204, ปอ.501, ปอ.508
เรือสายในคลองแสนแสบ เส้นทางสะพานผ่านฟ้า-ประตูน้ำ ขึ้นที่ท่าเรือสะพานหัวช้าง เดินเลียบถนนพญาไทประมาณ 300 เมตร ถึงหอศิลปฯ สี่แยกปทุมวัน
รถไฟฟ้า   ลงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ โดยชั้น 3 ของหอศิลปฯ มีทางเดินเชื่อมต่อกับทางยกระดับสถานี รถไฟฟ้า BTS สนามกีฬาแห่งชาติ 
รถยนต์  เดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางถนนพญาไท (จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) ข้ามสะพานหัวช้าง ชิดขวาเข้าทางเข้า หอศิลปฯ (ก่อนข้ามสี่แยกปทุมวัน)   เส้นทางถนนพระราม 1 (จากสนามกีฬาแห่งชาติ) เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพญาไท และเลี้ยวซ้าย เข้าทางเข้าหอศิลปฯ
ที่ตั้ง
อยู่ที่สี่แยกปทุมวัน หัวมุมถนนพระราม 1 และถนนพญาไท ตรงข้ามห้างมาบุญครอง และสยามดิสคัฟเวอรี่
โทร. 0-2214-6630-8